บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับการศึกษา
ภาคบังคับ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ปีการศึกษา 2562
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ2) ผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของครูผู้สอน และ3) ผลที่เกิดกับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1)ครูวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 99 คน2)ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ
ปีการศึกษา 2562จำนวน 130คน และ3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จำนวน 495คน และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 465คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับครูวิชาการโรงเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน รายวิชาการงานอาชีพ และฉบับที่ 3 แบบสอบถามสำหรับนักเรียน ทั้งสามชุดมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)และแบบปลายเปิด (Open End Questions)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากโรงเรียน โดยจัดส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลถึงผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1ทุกโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
1.1 รายวิชาพื้นฐาน การจัดเวลาเรียนของโรงเรียนที่จัดจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์พบว่า ชั้นที่จัดจำนวน 1 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุดได้แก่ ชั้น ป.1 และชั้น ป.2 ชั้นที่จัดจำนวน 2ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุดได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นที่จัดจำนวน 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ป.4 และชั้น ป.5
1.2 รายวิชาเพิ่มเติมการจัดเวลาเรียนของโรงเรียนที่จัดจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ในรายวิชาเพิ่มเติม พบว่า ชั้นที่จัดจำนวน 1 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ป.2 และชั้น ป.4 ชั้นที่จัดจำนวน 2 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ม.1 และชั้น ม.2
ชั้นที่จัดจำนวน 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ม.1 และ ชั้น ม.2
1.3 กิจกรรมเพิ่มเติม การจัดเวลาเรียนของโรงเรียนที่จัดจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์
ในกิจกรรมเพิ่มเติมพบว่าชั้นที่จัดจำนวน 1 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ป.1และชั้น ป.2ชั้นที่จัดจำนวน 2 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ป.4 และชั้น ป.5
ชั้นที่จัดจำนวน 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ม.1 และชั้น ม.2
1.4 กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การจัดเวลาเรียนของโรงเรียนที่จัดจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้พบว่าชั้นที่จัดจำนวน 1 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้น ป.1และชั้น ป.2ชั้นที่จัดจำนวน 2 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ชั้นม.1 และชั้น ม.2 ชั้นที่จัดจำนวน 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ ชั้นม.1 และชั้น ม.2
1.5 การวัดและประเมินผล การดำเนินการกำหนดการวัดและประเมินผลการงานอาชีพของโรงเรียนดำเนินการแล้ว ร้อยละ 96.97 ยังไม่ได้ดำเนินการ ร้อยละ 3.03
1.6 ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การงานอาชีพของโรงเรียน ได้แก่ จัดสอนในชั่วโมงตามตารางสอน ร้อยละ 79.80 จัดบูรณาการการเรียนรู้ด้วยกันทั้งรายวิชาพื้นฐาน เพิ่มเติม และกิจกรรม ร้อยละ 59.60 จัดสอนทฤษฎีในชั่วโมงตามตารางสอนส่วนการปฏิบัติบูรณาการในชั่วโมงกิจกรรม ร้อยละ 17.17 จัดบูรณาการโดยจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้น ร้อยละ 5.05
1.7 ปัญหา อุปสรรค การพัฒนาหลักสูตรฯ การงานอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนไม่มีครูกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรฯ การงานอาชีพ ร้อยละ 72.73 ขาดแคลนงบประมาณ ร้อยละ 56.57 สภาพพื้นที่ของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ร้อยละ 20.20 ปัญหาอุปสรรคด้านอื่น ๆ ร้อยละ 17.17 ได้แก่ ขาดแคลนน้ำ ขาดวัสดุ อุปกรณ์ที่จะนำมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1.8 การประเมินหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ โดยครูวิชาการโรงเรียน ดำเนินการอยู่ในระดับมาก
2. ผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของครูผู้สอน
ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ อยู่ในระดับมาก
3. ผลที่เกิดกับผู้เรียน
การปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี
|