บทคัดย่อ :
การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ระดับการศึกษาภาคบังคับ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
นายพัชญภณ สารสา
ศึกษานิเทศก์ สพป.ตาก เขต 1
การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพระดับการศึกษาภาคบังคับ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของโรงเรียนในสังกัด 2) พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพระดับการศึกษาภาคบังคับ 3) นิเทศ ติดตามการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการงานอาชีพระดับการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของโรงเรียนในสังกัด เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพหรือครูวิชาการโรงเรียนในปีการศึกษา 2561 โดยใช้แบบสำรวจสภาพการจัดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพ ด้วยการส่งหนังสือถึงโรงเรียนตามระบบราชการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพระดับการศึกษาภาคบังคับ ในปีการศึกษา 2561 โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 การจัดทำร่างคู่มือหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพระดับการศึกษาภาคบังคับ โดยศึกษานิเทศก์ทุกคนและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบงานวิชาการ ตอนที่ 2 การตรวจสอบร่างคู่มือหลักสูตรฯ โดย 1) จัดสนทนากลุ่ม (Connoisseurship)
ผู้ทรงคุณวุฒิ การประเมินคู่มือหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 2) การประเมินโดยครู จัดเก็บข้อมูลโดยจัดประชุม และให้ร่วมพิจารณา ณ ที่ประชุม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตอนที่ 3 การปรับปรุงคู่มือ ตามข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ขั้นตอนที่ 3 การนิเทศ ติดตามการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนในสังกัดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูวิชาการ โดยจัดส่งหนังสือตามระบบทางราชการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการจัดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560 ศึกษาต่อ
ร้อยละ 99.43 การจัดเรียนการสอนโรงเรียนระดับประถมศึกษาจัดเป็นกิจกรรม/ชุมนุม/กลุ่มสนใจ ร้อยละ 84.15 จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมร้อยละ 13.41 ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดเป็นกิจกรรม/ชุมนุม/กลุ่มสนใจ ร้อยละ 65.52 จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ร้อยละ 72.41 โรงเรียนการเปิดรายวิชาอาชีพเพิ่มเติมตามบริบทของชุมชน ร้อยละ 23.17 ตามความพร้อมของครู ร้อยละ 21.95 ตามความต้องการของนักเรียน ร้อยละ 21.95 ปัญหา อุปสรรคของโรงเรียนได้แก่ ขาดแคลนครูผู้สอนงานอาชีพ ร้อยละ 34.72 งบประมาณไม่เพียงพอร้อยละ 33.33 ขาดวัสดุ อุปกรณ์ในการ ร้อยละ 22.22 ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอร้อยละ 2.78 ได้เสนอแนะว่า ควรมีหลักสูตรการงานอาชีพแนะนำให้โรงเรียน ร้อยละ 56.10 จัดโครงสร้างเวลาเรียนยืดหยุ่นในการเรียนวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ ร้อยละ 47.56 และหน่วยงานต้นสังกัดควรมีการสนับสนุนสื่อ วัสดุ-อุปกรณ์ งบประมาณในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 43.90
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการงานอาชีพ ระดับการศึกษาภาคบังคับ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ในปีการศึกษา 2561 พบว่า
1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หลักสูตรรายวิชาพื้นฐาน และหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ระดับการศึกษาภาคบังคับ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และครูวิชาการหรือครูผู้สอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การนำหลักสูตรและแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สู่การปฏิบัติครูดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการนิเทศ ติดตามการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ระดับการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 พบว่า 1) การมีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของสถานศึกษา พบว่า มีการร่วมกันจัดทำหลักสูตร ร้อยละ 40.24 และดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ร้อยละ 36.59, 2) หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานดำเนินการจัดทำครบทุกชั้นเรียนเสร็จเรียบร้อย ร้อยละ 46.34 ส่วนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม จัดทำครบทุกชั้นเรียนและเสร็จเรียบร้อย ร้อยละ 24.39, 3) การจัดเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้น ป.1-2 และ ป.4-5 จัดสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงร้อยละ 67.07 จัดสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
ร้อยละ 40.24 ส่วนการจัดเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้น ม.1-2 จัดสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ร้อยละ 3.66 จัดสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ร้อยละ 20.73, 5) การกำหนดการวัดและประเมินผลระดับโรงเรียน ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ร้อยละ 34.15 ส่วนในระดับชั้นเรียนเสร็จเรียบร้อย ร้อยละ 24.39,
6) โรงเรียนดำเนินการจัดสอนในชั่วโมงตามตารางสอน ร้อยละ 85.37 จัดบูรณาการการเรียนรู้ด้วยกันทั้งรายวิชาพื้นฐาน เพิ่มเติม และกิจกรรม ร้อยละ 47.56 จัดร่วมกับอาชีวะในรายวิชาเพิ่มเติมที่เรียนสะสมหน่วยกิต ร้อยละ 4.88 และจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้น ร้อยละ 3.66, 7) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ โรงเรียนไม่มีครูกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรฯ การงานอาชีพ ร้อยละ 73.17 ขาดแคลนงบประมาณ ร้อยละ 71.95 สภาพพื้นที่ของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ร้อยละ 15.85, 8) ความพึงพอใจของครูวิชาการที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการของครูอยู่ในระดับมาก.
เอกสารเผยแพร่ คุ่มือครูหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับการศึกษาภาคบังคับ สพป.ตาก เขต1
|