บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนตามมาตรการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ผลการดำเนินการตามมาตรยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 และ 3) ความพึงพอใจของครูในการใช้มาตรการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection)
โดยเลือกหัวหน้าครูวิชาการโรงเรียนในสังกัดในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนในครั้งนี้ มีจำนวน 1 ฉบับ
มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียน โดยจัดทำหนังสือราชการแจ้งโรงเรียน แล้วให้ส่งแบบสอบถามกลับตามระบบราชการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการดำเนินการตามมาตรยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน พบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกระดับ ทั้งระดับโรงเรียน ระดับชั้นเรียน ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และทดสอบระดับชาติ
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 พบว่า
2.1 ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563
พบว่า มีคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 30.03 โดยในรายละเอียดพบว่า ทุกวิชามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 และทุกวิชามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสังกัดและระดับประเทศ และ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 2.30
2.3 ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา พบว่า
มีคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 40.95 โดยวิชาภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 50 และทุกวิชา มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกวิชาทั้งในระดับจังหวัดและระดับสังกัด แต่จะต่ำกว่าระดับประเทศทุกวิชา และปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 5.69
2.4 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมทั้งสองด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.90 และต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 1.07 และมีคะแนนรวมเฉลี่ยน้อยกว่าปีการศึกษา 2562
ร้อยละ 1.16
2.5. ผลการทดสอบความสามารถวัดการอ่าน(RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 พบว่า คะแนนรวมทั้ง 2 สมรรถนะ ร้อยละ 72.92 และมีคะแนนรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 0.50
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูในการใช้มาตรการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมครูมีความพึงพอใจในการดำเนินการตามมาตรการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
|